วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายงานประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
The Evaluation Report of the sufficiency Economy Philosophy School Model's Project,

            Banyaipittayakom School
บทคัดย่อ
          การประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม 4 ด้าน ดังนี้  ด้านสภาวะแวดล้อม  ด้านปัจจัยเบื้องต้น  ด้านกระบวนการ  ด้านผลผลิต   2) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  กรรมการสถานศึกษา จำนวน  13  คน  ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม จำนวน  21  คน ผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน  195  คน และนักเรียน  จำนวน  195  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และแบบสอบถามความพึงพอใจโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ผลการศึกษา
1) ผลประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมทั้ง 4 ด้าน พบว่า
1.1) ด้านสภาพแวดล้อม ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า โครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และนโยบายของโรงเรียน  ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักวิถีชีวิตอย่างพอเพียงมากขึ้น และกำหนดเป้าหมาย วิธีดำเนินงาน และระยะเวลาดำเนินการให้มีความเหมาะสม และปฏิบัติได้จริงมากขึ้น
1.2) ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า คณะกรรมการดำเนินโครงการเป็นผู้มีความกระตือรือร้นสนใจมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม และคณะกรรมการดำเนินงาน มีความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นมาของแนวคิดหลักการ และประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี  ทั้งนี้ ผู้ปกครอง ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องให้การสนับสนุนตามความสามารถ และความถนัดของแต่ละคนในชุมชน
1.3) ด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า การจัดกิจกรรมสร้างบ้านดินพอเพียงมีความเหมาะสม และการจัดกิจกรรมทำดินปลูกมีความเหมาะสม ทั้งนี้โรงเรียนควรให้นักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนด้วย
1.4) ด้านผลผลิต ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้จากการโครงการนี้ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้  และนักเรียนสามารถนำกิจกรรมในโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประวันได้   ทั้งนี้ โรงเรียนควรนำผลการศึกษาการน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่ชุมชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

2) ผลประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  พบว่า โครงการนี้มีกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่หลากหลาย และสถานที่ทำกิจกรรม สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ทั้งนี้โครงการควรจัดนิทรรศการผลงานนักเรียนที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น



ประมวลภาพกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม


รูปที่ 1 เตรียมทำดินปลูก กองใบไม้เป็นส่วนผสมทำดินปลูกของโครงการ




รูปที่ 2 ก้อนดินดิบที่ใช้ทำบ้านดิน ฝีมือของเด็กนักเรียน ดินใช้ดินภายในโรงเรียนมีส่วนผสมฟางด้วย



รูปที่ 3 นักเรียนกำลังย่ำดิน เพื่อให้ดินนั้นแตกตัว แล้วผสม แกลบ ฟางข้าวด้วยหมักไว้ 2-3วันหลังจากนั้นจึงมาทำเป็นก้อนดินดิบ



รูปที่ 4 ด้านหลังบ้านดินของโรงเรียน


รูปที่ 5 เผยแพร่ผลงานตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


รูปที่ 6 รับรางวัลเพชรสามัญ เนื่องจากมีผลงานดีเด่น ประจำปี 2555

การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ

การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ
THE DEVELOPMENT OF THE VOCATIONAL PARALLEL CURRICULUM ADMINISTRATION  MODEL OF BANYAIPITTAYAKOM SCHOOL USING THE CONCEPT OF BENCHMARKING
วินุลาศ เจริญชัย
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านใหญ่พิยาคม
อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
Winulas Charoenchai
Director,Banyaipittayakom School
Khonburi district, Nakhon Ratchasima province

บทคัดย่อ
                            การศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่-พิทยาคม  ตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ  3) เพื่อนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ  และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่- พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม จำนวน  21  คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน  14  คน  ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน  44  คน  นักเรียน จำนวน  44  คน ผู้บริหารและครูโรงเรียนหนองบุนนากพิทยาคม จำนวน  8  คน รวมทั้งสิ้น 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้ 1) บันทึกการประชุม ของการประชุมระดมความคิดเห็น ตาม SWOT Analysis  2) การสัมภาษณ์แบบมีโครงร่าง ของการศึกษาเปรียบเทียบ (Site Visit)  3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ  4) แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู (Appreciation Influence Control)  5) แบบประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียน    บ้านใหญ่พิทยาคม  6) แบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ     ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย                   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการศึกษาพบว่า 
1. การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม มีการปฏิบัติงานการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ด้านการส่งเสริม สนับสนุน   อยู่ในระดับมาก  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก  ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ       อยู่ในระดับมาก
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ พบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และปัจจัยเอื้อ (Enabler) พัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ มี 2 ขั้นตอน 1) การวิเคราะห์  วิเคราะห์รูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพทั้ง 3 ด้าน ซึ่งจัดลำดับช่วงห่างของการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ จากมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  และด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ 2) ขั้นบูรณาการ เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู โดยนำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และปัจจัยเอื้อ (Enabler)มาใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
3 การนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ  นำรูปแบบที่พัฒนาแล้วไปใช้ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ด้านการส่งเสริม สนับสนุน อยู่ในระดับมาก  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด
4 การประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ  พบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการส่งเสริม สนับสนุน อยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ อยู่ในระดับระดับมากที่สุด  2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริม สนับสนุน อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก  และด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ อยู่ในระดับระดับมาก

คำสำคัญ : การเทียบเคียงสมรรถนะ,การบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ,โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม


Abstracts
                     The development of the vocational parallel curriculum administration model of Banyaipittayakom school using the concept of Benchmarking  aims to 1)  study the current situation the vocational parallel curriculum administration of Banyaipittayakom school; 2) to develop the vocational parallel curriculum administration model of Banyaipittayakom school using the concept of Benchmarking;  3) to try out the developing Best Practice vocational parallel curriculum administration in Banyaipittayakom school; 4) to evaluate the developing vocational parallel curriculum administration model of Banyaipittayakom School.  The targeted group of this study consisted of 21 administrators and teachers, 14 school boards, 44 parents, 44 students and 8 administrators and teachers of Nongbunnak school, total 131.  Instrument used in this study were 1) The meeting agenda of brain storming according to  SWOT Analysis.  2) The guideline interview  for Site Visit.   3) The questionairs for the vocational parallel curriculum administration model.  4)  The appreciation influence control report of the administrators and the teachers of the school.  5)  The evaluated questionairs for the the vocational parallel curriculum administration model.  6) The satisfication questionairs for vocational parallel curriculum administration model.   Statistical method for data analysis were percentage, mean, standard deviation.
          The result of the study were as follows :
1. The current situation the vocational parallel curriculum administration of Banyaipittayakom school was generally at the good level in each aspect as promoting and supportation , school curriculum development and quality control.
2.  The development study of  the vocational parallel curriculum administration model Banyaipittayakom school using the concept of Benchmarking indicated the Best Practices and Enabler for developing the vocational parallel curriculum administration model of Banyaipittayakom school to achieve the goal. Two stage were taken as : 1) Analysis stage, Three aspects of vocational parallel curriculum administration were analyzed and ranked from the highest gap to the lowest gap as follows : promote and supporting, school curriculum and quality control respectively. 2) Integretion stage, the Appreciation Influence Control of administrators and teachers used the Best Practices and Enabler to developed the vocational parallel curriculum administration model of Banyaipittayakom school.
3. The developed vocational parallel curriculum administration model of Banyaipittayakom school was tried out in school. Action Stage, The result was generally at the good level in each aspects. The school curriculum development and quality control are at very good level. The  promote and supporting is at good level.
4)  The satisfication evaluation of the developed vocational parallel curriculum administration model  of Banyaipittayakom school were 1) the satification of administrators teachers and school board is  at very good in all aspects, promote and supporting , school curriculum development and quality control. 2) The saticification of parents and student  is at good level in all aspect, promote and supporting , school curriculum development and quality control.

Keywords : benchmarking, Gap Analysis, Site Visit, Best Practices, The Vocation Parallel Curriculum


 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การพัฒนาหลักสูตรต้องยึดหลักการของ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ(2551 : 1) ที่กล่าวว่าในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับหลักสูตร รวมทั้งเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ตนเองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การบริหารจัดการหลักสูตรในยุคปัจจุบันมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษา ให้มีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหลักสูตร โดยอาศัยเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการ รูปแบบ และกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) จากกรอบแนวคิดเดิมสู่ปรัชญาแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่ การบริหารจัดการและแนวปฏิบัติใหม่ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชาติระดับท้องถิ่น และระดับสถานศึกษา
ในการบริหารหลักสูตร มีขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมหลายมิติซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย และต้องอาศัยองค์ประกอบปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ มากมายเป็นการบริหาร กิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมสนับสนุนและกำกับ ดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตรตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และสถานศึกษา โดยดำเนินการในสถานศึกษาเป็นการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการวางแนวปฏิบัติเพื่อให้คณะครูสามารถนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ในสถานศึกษา เช่นเดียวกับหลักการของกระทรวงศึกษาธิการ (2546 : 15) ในการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพได้นั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกฝ่าย ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งบทบาท ภารกิจ หน้าที่ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ โดยผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการศึกษา เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาเป็นผู้นำในการจัดหลักสูตรโดยร่วมประสานกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจัดให้มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษา สนับสนุนสภาพแวดล้อมต่อการเรียนรู้ สนับสนุนให้บุคลากรได้รับความรู้ และความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ จัดให้มีการนิเทศภายใน เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้หลักสูตรอย่างมีระบบ ให้มีการประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีแนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการส่งเสริมและดูแลด้านคุณภาพการจัดศึกษาให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร
โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม เป็นโรงเรียนประจำตำบลจัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 อยู่ห่างไกลอำเภอเมือง  และอำเภอครบุรี  ผู้ปกครองนักเรียนส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้าง  ให้บริการชุมชนในเขตตำบลครบุรี มีโรงเรียนประถมศึกษาที่อยู่รอบๆ โรงเรียน จำนวน 6 แห่ง  โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้เปิดสอนในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้เปิดสอน 3 สาขาวิชา ดังนี้  1 สาขาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 2 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง  3 สาขาวิชาทั่วไป  ในปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้ทำโครงการเรียนร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี โดยได้จัดทำแนวทางตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด การให้ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถาบันการศึกษาสังกัดคณะกรรมการอาชีวะศึกษา  โรงเรียนได้เปิดสอนวิชาชีพในสาขาช่างไฟฟ้ากำลัง ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนถ่ายโอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ครู และบุคลากร ส่วนมากไม่โอนมาทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากร ต้องบรรจุบุคลากรใหม่เข้ามาเกือบทั้งหมด ทำให้องค์ความรู้เดิมของโรงเรียนขาดหายไปโรงเรียนต้องเริ่มดำเนินการใหม่ ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ยกเลิก บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ที่ทำกับโรงเรียน เนื่องโรงเรียนไม่มีบุคลากรเพียงพอ และไม่มีการให้บริการรถรับส่งนักเรียน แต่นักเรียนยังมีความต้องการที่จะเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ดังนั้นโรงเรียน จึงประสานไปยังวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัยในปีการศึกษา 2554 ต่อมาหลังจากที่โรงเรียนมีความพร้อมในด้านบุคลากร และการบริการรถรับส่งแล้ว จึงได้ตกลงทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัยและจัดทำหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพซึ่งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้ทำการปรับปรุงให้รายวิชาสอดคล้องกับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาไฟฟ้ากำลัง ของวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย  การจัดการศึกษาร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัยเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา และจากวิทยาลัยเทคนิคสุรนารีอีก 4      ปีการศึกษา ทำให้โรงเรียนต้องการรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพมาบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ(Benchmarking) เป็นกระบวนการเสาะหาและนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมาประยุกต์ใช้ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร (บุญดี บุญญากิจ, 2545)  ในปัจจุบันการเทียบเคียงสมรรถนะ นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร เนื่องจากการเทียบเคียงสมรรถนะเป็นการค้นหาตัวเอง ค้นหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดจากองค์กรอื่นที่มีกระบวนการคล้ายกัน และนำวิธีปฏิบัติที่ดี(Best Practice) ขององค์กรอื่นมาประยุกต์ใช้ในองค์กรของตนเอง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานและเทียบเคียงสมรรถนะยังเป็นกระบวนการตั้งคำถามกับองค์กรของเราเองเช่น องค์กรทำได้ดีหรือไม่ เป็นต้น (กันยรัตน์ โหละสุต, 2549)  การเทียบเคียงสมรรถนะ จะทำให้องค์กรเห็นข้อด้อยของตนเองเมื่อเทียบกับผู้อื่นและกระตุ้นให้องค์กรปรับปรุงวงจรชีวิตขององค์กรใหม่ ซึ่งเป็นการรักษาและเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในสภาวะที่คุณภาพกลายมาเป็นมาตรวัดที่สำคัญ
นอกจากนี้การเทียบเคียงสมรรถนะ ยังเป็นกลยุทธ์ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเอื้อต่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการทำการเปรียบเทียบเพื่อปรับปรุงและพัฒนา ทำให้บุคลากรมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น  โดยการปรับสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมขององค์กร  อันเป็นการพัฒนาผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น ดังนั้นการทำการเทียบเคียงสมรรถนะจึงเป็นวิธีการพัฒนาคุณภาพได้อย่างเป็นรูปธรรมแนวทางหนึ่ง

โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมมีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียน ให้มีคุณภาพ ตรงความต้องการของชุมชน และได้มาตรฐานตามหลักสูตร  จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เพื่อก่อให้เกิดผลผลิตที่ดีให้กับชุมชน และสังคม  ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมด้วยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ  (Benchmarking)   เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการบริหารหลักสูตรคู่ขนาน อีกทั้งยังเป็นการหาการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) อีกด้วย

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ
3. เพื่อนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ
4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ



ความสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้รูปแบบบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ โดยผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรที่เป็นระบบสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน

วิธีดำเนินการวิจัย
            1. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม จำนวน  21  คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน  14  คน  ผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน  44  คน และนักเรียน  จำนวน  44  คน และผู้บริหารและครูโรงเรียนหนองบุนนากพิทยาคม จำนวน  8  คน รวมทั้งสิ้น 131 คน
            2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้ 
2.1 บันทึกการประชุม ใช้ในการประชุมระดมความคิดเห็น ตาม SWOT Analysis 
2.2 การสัมภาษณ์แบบมีโครงร่าง ใช้เป็นแนวทางสัมภาษณ์ในขณะที่ศึกษาเปรียบเทียบ (Site Visit) คุณภาพของเครื่องมือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
2.3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ใช้สอบถามผู้บริหาร และครู โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม และโรงเรียนหนองบุนนากพิทยาคม เพื่อหาความห่างของการปฏิบัติงาน และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
2.4 แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วมของครูและผู้บริหารสถานศึกษา (Appreciation Influence Control) เพื่อนำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) มาใช้ให้เหมาะสม
2.5 แบบประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน
2.6 แบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
            3. ขั้นตอนการวิจัย  ขั้นตอนการวิจัยมีลำดับขั้น ดังนี้
3.1 การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ  ขั้นวางแผน (Planning Stage) ดำเนินการวิเคราะห์สภาพการบริหารหลักสูตร  กำหนดองค์ประกอบที่จะทำการเทียบเคียงสมรรถนะ คัดเลือกโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จเพื่อใช้เทียบเคียงสมรรถนะ  และศึกษาเปรียบเทียบเพื่อเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูลโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ
            3.2 การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ  ขั้นวิเคราะห์ (Analysis Stage)  ดำเนินการวิเคราะห์หาช่วงห่างของการบริหารหลักสูตร  และขั้นบูรณาการ (Integration Stage) ประชุมแบบมีส่วนร่วมของครูและผู้บริหาร (AIC)  เพื่อนำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และปัจจัยเอื้อที่ทำให้การบริหารหลักสูตรประสบผลสำเร็จมาใช้ให้เหมาะสม ประเมินความเป็นไปได้โดยผู้เชี่ยวชาญตามองค์ประกอบที่เทียบเคียง
            3.3 การนำรูปแบบไปใช้  ขั้นปฏิบัติ (Action Stage)  นำรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาไปใช้ แล้วสอบถามความคิดเห็น ของผู้บริหาร และครู เกี่ยวกับการบริหารหลักสูตร
4 การประเมินรูปแบบ  ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้หลักสูตร



สรุปผลการวิจัย
            จากการศึกษา เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  ตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม พบว่า  มีการปฏิบัติงานการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับดี  ด้านการส่งเสริม สนับสนุน มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ มีภาพรวมอยู่ในระดับดี
            2 การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ พบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และปัจจัยเอื้อ(Enabler) ที่ทำให้การบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ประสบผลสำเร็จ นำมาใช้เป็นข้อมูลในการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมเพื่อพัฒนาหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม แล้วใหัผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบ
2.1 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Stage)  ได้ดำเนินการนำรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม กับโรงเรียนหนองบุนนากพิทยาคมเทียบเคียงสมรรถนะ โดยการวิเคราะห์ช่วงห่างของการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ พบว่า ด้านที่ช่วงห่างมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน  รองลงมา คือ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  และด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ  ตามลำดับ
2.2 ขั้นบูรณาการ (Integration Stage) นำผลวิเคราะห์ช่วงห่างมาหาปัจจัยเอื้อที่ทำให้การบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพต่างจากโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ นำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) มาใช้ให้เหมาะสม โดยการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม เมื่อได้รูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเป็นไปได้ ตามองค์ประกอบที่เทียบเคียง  สรุปได้ดังนี้
2.2.1 ด้านการส่งเสริม สนับสนุน  ผลการประชุมแบบมีส่วนร่วม ให้ส่งบุคลากรเข้าอบรมการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากเดิม อย่างน้อยคนละ 1 ครั้งต่อภาคเรียน  ให้โรงเรียนจ้างครูมาประจำหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพอย่างน้อย 1 คน  ให้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณทุกปีงบประมาณ  ให้ดำเนินการหาเครือข่ายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประชุมClassroom meeting  การหาสถานประกอบ การในชุมชน การระดมทรัพยากร 
2.2.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  ผลการประชุมแบบมีส่วนร่วม ปรับปรุงหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตร ปวช.  จัดอบรมครูเรื่องการออกแบบหน่วยการเรียนรู้  ให้ฝ่ายวิชาการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม  ให้นำผลการติดตามมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ
2.2.3 ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ  ผลการประชุมแบบมีส่วนร่วม ให้มีการประเมินความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนผู้ปกครองและชุมชน  ให้มีการประเมินความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น  ให้นำแผนการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
3 การนำรูปแบบไปใช้
3.1 ขั้นปฏิบัติ (Action Stage) ได้นำรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมที่พัฒนารูปแบบแล้วไปใช้ ผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ที่มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับดี  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับดีมาก  ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ  อยู่ในระดับดีมาก และด้านการส่งเสริม สนับสนุน  อยู่ในระดับดี
4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ
การประเมินประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ  โดยการสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้หลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ ของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  ได้สอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา  ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า
4.1 ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา  ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา พบว่า มีความพึงพอใจ โดยรวม อยู่ในระดับดีมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก  ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับระดับดีมาก  ด้านการส่งเสริม สนับสนุน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก  ตามลำดับ
4.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน  ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจ โดยรวม อยู่ในระดับดี  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า  ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับระดับดี  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี  และด้านการส่งเสริม สนับสนุน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ตามลำดับ



อภิปรายผล

1. การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม พบว่ามีการปฏิบัติงานการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ  โดยภาพรวม อยู่ในระดับดี  โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ มีภาพรวมอยู่ในระดับดี 
1.1 ด้านการส่งเสริม สนับสนุน มีภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สถานศึกษาให้บุคลากรเข้ารับการอบรมตามภาระงานและสาระการเรียนรู้ และมีการวางแผนการพัฒนาด้านบุคลากรตามภาระงานและสาระการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ สถานศึกษาให้บุคลากรเข้ารับการอบรมการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ และมีมุมหรือศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร  จากการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูได้กำหนดให้ส่งบุคลากรเข้าอบรมการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากเดิม อย่างน้อยคนละ 1 ครั้งต่อภาคเรียน และให้เพิ่มมุมความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรในห้องสมุด ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ รามลักษณ์ อนุสุริยา (2546) การบริหารจัดการหลักสูตรนั้น สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร อีกทั้งสถานศึกษาต้องส่งบุคลากรเข้าอบรมการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ และจัดให้มีศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มขึ้น
            1.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า  สถานศึกษานำเสนอร่างเอกสารหลักสูตรและระเบียบการวัดประเมินผลต่อคณะกรรมการสถานศึกษา  มีแผนการปรับปรุงหลักสูตร  จัดตารางเรียน และเวลาเรียนเหมาะสม  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ สถานศึกษาจัดตารางเรียน และเวลาเรียนเหมาะสม แสดงว่าการจัดตารางเรียน และเวลาเรียนนั้น ยังไม่เหมาะสม  จากการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูได้กำหนดให้ปรับปรุงหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับ กระทรวงศึกษาธิการ (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนด เวลาเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค  มีเวลาเรียน วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ 1 หน่วยกิต และโครงสร้างเวลาเรียน รวมเวลาเรียนทั้งหมด ปีไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง
1.3 ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า สถานศึกษามีการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้  มีการรายงานผลพัฒนาคุณภาพของนักเรียนเป็นระยะ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ มีการประเมินความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน จากการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูได้กำหนด มีการประเมินความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร ซึ่งจะต้องทำการศึกษาหลักสูตรให้ชัดเจน ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรกับผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน ชุมชน เกี่ยวกับจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง และการจัดประสบการณ์การเรียน  และต้องประเมินผลการใช้หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตรอีกด้วย
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ พบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และปัจจัยเอื้อ (Enabler) มาใช้พัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพ  ได้ดำเนินการ 2 ขั้นตอนดังนี้ 1) การวิเคราะห์  วิเคราะห์รูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพทั้ง 3 ด้าน ซึ่งจัดลำดับช่วงห่างจากมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน  ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  และด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ 2) ขั้นบูรณาการ เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู โดยนำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และปัจจัยเอื้อ (Enabler)มาใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ได้แนวทางการบริหารหลักสูตร ดังนี้
2.1 ด้านการส่งเสริม สนับสนุน  กำหนดแนวปฏิบัติให้ส่งบุคลากรเข้าอบรมการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากเดิม อย่างน้อยคนละ 1 ครั้งต่อภาคเรียน ให้โรงเรียนจ้างครูมาประจำหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพอย่างน้อย 1 คน ให้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณทุกปีงบประมาณ และให้ดำเนินการหาเครือข่ายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประชุมClassroom meeting  การหาสถานประกอบการในชุมชน การระดมทรัพยากร  ซึ่งสอดคล้องกับ รามลักษณ์ อนุสุริยา (2546) การบริหารจัดการหลักสูตรนั้น สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร อีกทั้งสถานศึกษาต้องส่งบุคลากรเข้าอบรมการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ
2.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  ให้สถานศึกษาปรับปรุงหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้การจัดตารางเรียน และเวลาเรียนเหมาะสมกับนักเรียน  และจัดอบรมครูเรื่องการออกแบบหน่วยการเรียนรู้  ให้ฝ่ายวิชาการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม  ซึ่งสอดคล้องกับ กระทรวงศึกษาธิการ (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนด เวลาเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค  มีเวลาเรียน วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ 1 หน่วยกิต และโครงสร้างเวลาเรียน รวมเวลาเรียนทั้งหมด ปีไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง
2.3 ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ  ให้สถานศึกษาประเมินความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนผู้ปกครองและชุมชน  ให้มีการประเมินความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น  และให้นำแผนการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร ซึ่งจะต้องทำการศึกษาหลักสูตรให้ชัดเจน ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรกับผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน ชุมชน เกี่ยวกับจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง และการจัดประสบการณ์การเรียน  และต้องประเมินผลการใช้หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตรอีกด้วย
3 การนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ  นำรูปแบบที่พัฒนาแล้วไปใช้ มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  ผลการนำรูปแบบไปใช้ดังนี้
3.1 ด้านการส่งเสริม สนับสนุน มีภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สถานศึกษาให้บุคลากรเข้ารับการอบรมตามภาระงานและสาระการเรียนรู้ รองลงมา สถานศึกษาให้บุคลากรเข้ารับการอบรมการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสอดคล้องกับรามลักษณ์ อนุสุริยา (2546) การบริหารจัดการหลักสูตรนั้น สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร อีกทั้งสถานศึกษาต้องส่งบุคลากรเข้าอบรมการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ
3.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด จำนวน 3 ข้อ คือ สถานศึกษาประกาศให้ใช้หลักสูตรโดยผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม  มีแผนการปรับปรุงหลักสูตร และนำผลการติดตามมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตร  ซึ่งสอดคล้องกับ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(2551) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพนั้น สถานศึกษาต้องมีการเตรียมวางแผนเพื่อใช้หลักสูตรใหม่ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรใหม่ เตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตรทั้งด้านงบประมาณ และอาคารสถานที่เพียงพอหรือไม่ การเตรียมบุคลากรเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรจะดำเนินการใช้วิธีใด การวางแผนงานเพื่อใช้หลักสูตรอย่างละเอียดรอบคอบและมีขั้นตอนจะทำให้การใช้หลักสูตรบรรลุจุดหมายได้ง่าย โรงเรียนต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติอย่างเหมาะสม สถานศึกษาจะต้องมีการติดตาม ควบคุมคุณภาพการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระเบียบ ต่อเนื่องและครบวงจรและนำผลจากการติดตาม ควบคุมคุณภาพนั้นมาพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.3 ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ มีภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ สถานศึกษามีแผนการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร  รองลงมาคือ สถานศึกษามีการประเมินความต้องการในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพนักเรียน  ซึ่งสอดคล้องกับ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร ซึ่งจะต้องทำการศึกษาหลักสูตรให้ชัดเจน ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรกับผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน ชุมชน เกี่ยวกับจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง และการจัดประสบการณ์การเรียน  และต้องประเมินผลการใช้หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตรอีกด้วย
4 การประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพของโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ  พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา มีภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีภาพรวมอยู่ในระดับดี  ผลการประเมินรูปแบบจากความพึงพอใจ มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ด้านการส่งเสริม สนับสนุน ภาพรวมความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ส่วนความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน อยู่ในระดับดี ซึ่งพอสรุป ความพึงพอใจในรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพได้ดังนี้  สถานศึกษาให้บุคลากรเข้ารับการอบรมการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ  สร้างความตระหนักให้ครูเห็นความสำคัญในการจัดทำหลักสูตร  จัดการประชุมนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน วางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เกี่ยวกับหลักสูตร  และจัดครูเข้าสอนตรงสาขาวิชา สำหรับการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรอย่างเพียงพอ  ซึ่งสอดคล้องกับ รามลักษณ์ อนุสุริยา (2546) การบริหารจัดการหลักสูตรนั้น สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร อีกทั้งสถานศึกษาต้องส่งบุคลากรเข้าอบรมการพัฒนาหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ และจัดให้มีศูนย์รวมความเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มขึ้น
4.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภาพรวมความพึงพอใจ ของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ส่วนความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน อยู่ในระดับดี  ซึ่งพอสรุป ความพึงพอใจในรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพได้ดังนี้  นักเรียนได้ฝึกทักษะการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  ครูมีการเตรียมการสอน และมีความพร้อมที่จะสอน  ซึ่งสอดคล้องกับ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(2551) กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพซึ่งสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและดำเนินการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างความมั่นใจต่อพ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน หลักสูตรสถานศึกษาต้องจัดทำให้มีความสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ทั้งนี้การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพนั้น สถานศึกษาต้องมีการเตรียมวางแผนเพื่อใช้หลักสูตรใหม่ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรใหม่ด้วย
4.3 ด้านการกำกับ ดูแลคุณภาพ ภาพรวมความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ส่วนความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน อยู่ในระดับดี ซึ่งพอสรุป ความพึงพอใจในรูปแบบการบริหารหลักสูตรคู่ขนานวิชาชีพได้ดังนี้ สถานศึกษามีการรายงานผลการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นระยะ พร้อมทั้งรายงานผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบอย่างสม่ำเสมอ  ได้นำผลการประกันคุณภาพภายในมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร  นำผลการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร  มีการประเมินความต้องการในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพนักเรียน  และมีการตรวจเยี่ยม และสังเกตการณ์ในชั้นเรียน  ซึ่งสอดคล้องกับ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร ซึ่งจะต้องทำการศึกษาหลักสูตรให้ชัดเจน ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรกับผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน ชุมชน เกี่ยวกับจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง และการจัดประสบการณ์การเรียน  และต้องประเมินผลการใช้หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตรอีกด้วย

ข้อเสนอแนะ
            ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
            1. ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น ตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ
            2. ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ตามแนวคิดเทียบเคียงสมรรถนะ


เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กันยรัตน์  โหละสุต. 2549. การเทียบเคียงสมรรถนะองค์กรการศึกษา โดยใช้โปรแกรม NFB : Benchmarking for education institutes by NFB program. 2550. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญดี  บุญญากิจ. 2545. Benchmarking ทางลัดสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ.  กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์.
รามลักษณ์  อนุสุริยา. 2546. สภาพการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด
                เชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิชัย  วงษ์ใหญ่. 2521. พัฒนาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. แนวทางการบริหาร
                 จัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและ
                 มาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
                 ประเทศไทย.