วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายงานประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
The Evaluation Report of the sufficiency Economy Philosophy School Model's Project,

            Banyaipittayakom School
บทคัดย่อ
          การประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม 4 ด้าน ดังนี้  ด้านสภาวะแวดล้อม  ด้านปัจจัยเบื้องต้น  ด้านกระบวนการ  ด้านผลผลิต   2) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  กรรมการสถานศึกษา จำนวน  13  คน  ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม จำนวน  21  คน ผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน  195  คน และนักเรียน  จำนวน  195  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และแบบสอบถามความพึงพอใจโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ผลการศึกษา
1) ผลประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมทั้ง 4 ด้าน พบว่า
1.1) ด้านสภาพแวดล้อม ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า โครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และนโยบายของโรงเรียน  ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักวิถีชีวิตอย่างพอเพียงมากขึ้น และกำหนดเป้าหมาย วิธีดำเนินงาน และระยะเวลาดำเนินการให้มีความเหมาะสม และปฏิบัติได้จริงมากขึ้น
1.2) ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า คณะกรรมการดำเนินโครงการเป็นผู้มีความกระตือรือร้นสนใจมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม และคณะกรรมการดำเนินงาน มีความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นมาของแนวคิดหลักการ และประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี  ทั้งนี้ ผู้ปกครอง ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องให้การสนับสนุนตามความสามารถ และความถนัดของแต่ละคนในชุมชน
1.3) ด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า การจัดกิจกรรมสร้างบ้านดินพอเพียงมีความเหมาะสม และการจัดกิจกรรมทำดินปลูกมีความเหมาะสม ทั้งนี้โรงเรียนควรให้นักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนด้วย
1.4) ด้านผลผลิต ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้จากการโครงการนี้ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้  และนักเรียนสามารถนำกิจกรรมในโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประวันได้   ทั้งนี้ โรงเรียนควรนำผลการศึกษาการน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่ชุมชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

2) ผลประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม  ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  พบว่า โครงการนี้มีกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่หลากหลาย และสถานที่ทำกิจกรรม สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ทั้งนี้โครงการควรจัดนิทรรศการผลงานนักเรียนที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น



ประมวลภาพกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม


รูปที่ 1 เตรียมทำดินปลูก กองใบไม้เป็นส่วนผสมทำดินปลูกของโครงการ




รูปที่ 2 ก้อนดินดิบที่ใช้ทำบ้านดิน ฝีมือของเด็กนักเรียน ดินใช้ดินภายในโรงเรียนมีส่วนผสมฟางด้วย



รูปที่ 3 นักเรียนกำลังย่ำดิน เพื่อให้ดินนั้นแตกตัว แล้วผสม แกลบ ฟางข้าวด้วยหมักไว้ 2-3วันหลังจากนั้นจึงมาทำเป็นก้อนดินดิบ



รูปที่ 4 ด้านหลังบ้านดินของโรงเรียน


รูปที่ 5 เผยแพร่ผลงานตามโครงการโรงเรียนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


รูปที่ 6 รับรางวัลเพชรสามัญ เนื่องจากมีผลงานดีเด่น ประจำปี 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น